Episodes

7 days ago
7 days ago
ในห้วงสัปดาห์วันแรงงานสากล หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ชานันท์ ยอดหงษ์ และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี แนะนำ “พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย” บนถนนนิคมมักกะสัน กรุงเทพฯ ซึ่งริเริ่มจากขบวนการแรงงาน หวังรวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไม่ให้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย เปิดมาตั้งแต่ปี 2536 เล่าประวัติศาสตร์สังคมไทยจากมุมของผู้ใช้แรงงาน การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย รวมไปถึงการต่อสู้ของขบวนการแรงงานเพื่อสิทธิประกันสังคม (2533) สิทธิลาคลอด (2536) ทวงสิทธิให้กับเหยื่อเพลิงไหม้โรงงานเคเดอร์ (2536) ฯลฯ
นอกจากนี้การจัดแสดงนิทรรศการ เรื่องเล่าในพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ยังสะท้อนวิธีคิดการแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ (Periodization) สะท้อนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่ส่งผลกระทบกับชีวิตของชนชั้นแรงงานด้วย โดยปัจจุบันนี้พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยอยู่ระหว่างการระดมทุนเพื่อปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ และเตรียมเปิดให้บริการใหม่เร็วๆ นี้ โดยสามารถติดตามข่าวสารได้จาก Facebook เพจของพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย

Monday Apr 28, 2025
เควียร์ศึกษาในซีกโลกใต้ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Apr 28, 2025
Monday Apr 28, 2025
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ประภาภูมิ เอี่ยมสม และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดคุยกับ ติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง ในประเด็น "Queer in the Global South" หรือเควียร์ศึกษาในซีกโลกใต้ ที่ไม่ได้ดูแค่ประเด็นเควียร์ในอาณาบริเวณใต้เส้นศูนย์สูตร แต่ดูทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และเชิงวาทกรรมว่าอะไรถูกจัดให้อยู่เหนือกว่า สิ่งที่อยู่ต่ำกว่า ด้อยอำนาจมากกว่าในวาทกรรมการพัฒนา
ทั้งนี้แม้ทฤษฎีเควียร์จะตั้งต้นมาจากฝั่งสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะมิเชล ฟูโกต์ หรือจูดิธ บัตเลอร์ แต่ก็มีอย่างน้อย 3 แนวทางของเควียร์ศึกษาในซีกโลกใต้ ได้แก่ สายแรก Globalism เควียร์ศึกษาสายตะวันตกนิยม สายที่สอง Localism หรือ สายศึกษาเควียร์ท้องถิ่น และ สายที่สาม Transnationalism หรือเควียร์ศึกษาสายข้ามชาตินิยม ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #queerstudies

Monday Apr 14, 2025
'Kamen Rider' ซอฟท์พาวเวอร์ญี่ปุ่น | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Apr 14, 2025
Monday Apr 14, 2025
หลังจาก “กีกี้” หรือ “Shocker Combatmen” กลายเป็นประเด็นในการอภิปรายในสภาเมื่อไม่นานมานี้ หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ภาวิน มาลัยวงศ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ พูดถึงกำเนิด “คาเมนไรเดอร์’ และยุคซีรีส์ซูเปอร์ฮีโร่แปลงร่างในวัฒนธรรมญี่ปุ่นอันเป็นผลพวงของสังคมยุคหลังสงครามแปซิฟิก และจะกลายเป็นวัฒนธรรมบันเทิงจากญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ อิชิโนโมริ โชทาโร (Ishinomori Shotaro) ราชามังงะ ผู้สร้างตัวละคร คาเมนไรเดอร์ เป็นคนในรุ่น “ยาเคอาโตะ” “Yakeato (焼け跡) Generation” หรือคนที่เกิดระหว่างปี ค.ศ. 1929 ถึง 1941 ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขายังเด็กเกินกว่าจะถูกเกณฑ์เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ว่ารู้ความและทันเห็นเหตุการณ์การทิ้งระเบิดปรมาณู ตลอดจนผลพวงที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ประสบการณ์นี้สร้างความเจ็บป่วยทางจิตใจฝังรากลึก เขาเห็นตัวเองไม่มีประโยชน์ ถูกต้อนจนมุมในสถานการณ์ที่ไม่มีทางออก พอเติบโตขึ้น บางคนเป็นผู้ต่อต้านสงคราม บ้างเป็นศิลปิน นักเขียน ผู้กำกับภาพยนตร์
อิชิโนโมริสร้างสรรค์ผลงานอย่าง “คาเมนไรเดอร์” เปิดตัวในปี ค.ศ. 1971 เพื่อ Re-imagine จินตนาการความเป็นไปได้อื่น จำลองมัลติเวอร์สที่พวกเขาพอจะลุกขึ้นมาสร้างการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ไม่เป็นผู้สิ้นไร้ในทุกรูปแบบ โดยซีรีส์คาเมนไรเดอร์ นับเป็นการปักหมุดจุดเริ่มต้น “ยุคทองของ โทคุชัตสึ” หมายถึงละครโทรทัศน์แนวไลฟ์แอคชันจากประเทศญี่ปุ่น เนื้อหาแนวฮีโร ใช้มนุษย์จริงแสดงประกอบกับสเปเชียลเอฟเฟ็คต่าง ๆ โดยยุคทองของโทคุชัตสึ หรือเหล่าฮีโรมนุษย์แปลงร่างอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1971 ถึง 1989 ขณะที่พล็อตเรื่องหลังยุคทองเมื่อเข้าสู่ยุคเฮเซหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่หลัง ค.ศ. 2000 ซูเปอร์ฮีโรเหล่านี้ยิ่งเดินเรื่องไปสู่เฉดเทามากขึ้น ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Sunday Apr 06, 2025
ชาตินิยม อุดมการณ์ ในละคร 'บุพเพสันนิวาส' | หมายเหตุประเพทไทย
Sunday Apr 06, 2025
Sunday Apr 06, 2025
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ แนะนำบทความ "Embodying ‘Thainess’ and the post-2006 coup crisis in Buppesannivas (Love Destiny)" ของศรัณย์ภัทร์ บุญฮก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา นำเสนอประเด็นจากละคร "บุพเพสันนิวาส" ซึ่งออกอากาศครั้งแรกทางช่อง 3 ในปี 2561
ละครโทรทัศน์เรื่องดังกล่าวเขียนบทโทรทัศน์อิงจากฉบับนวนิยายของ "รอมแพง" เล่าเรื่องราวของเกศสุรางค์ ที่ย้อนเวลาปัจจุบันกลับไปอยู่ในร่างของ "การะเกด" ย้อนกลับไปในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภาพแทนของขุนนางต่างชาติที่เป็น "ตัวร้าย" และจบลงด้วยเหตุการณ์ยึดอำนาจปราบฟอลคอน และตั้งราชวงศ์บ้านพลูหลวงโดยพระเพทราชา
และเนื่องจากฉบับนวนิยายตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2553 จึงมีจุดเชื่อมโยงกับบริบทการเมืองหลังรัฐประหาร 2549 โดยบทความยังเสนอว่า "บุพเพสันนิวาส" นำเสนอเรื่องเล่าหลักของแนวคิดราชาชาตินิยม กระทั่งเปิดพื้นที่ในการสนทนากับปัญหาวิกฤติชาติที่เกิดขึ้นภายหลังรัฐประหาร สะท้อนถึงความกังวลใจต่อภาวะการแบ่งขั้วทางการเมืองและการตีความเรื่อง "คนดี" ของสังคมไทย
อ่านบทความที่ Saranpat Boonhok (2024) Embodying ‘Thainess’ and the post-2006 coup crisis in Buppesannivas (Love Destiny), South East Asia Research, 32:3, 304-323, [https://doi.org/10.1080/0967828X.2024.2436519]

Tuesday Apr 01, 2025
Tuesday Apr 01, 2025
หมายเหตุประเพทไทย [Live] สัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ หยิบยกกรณีไทยส่งกลับผู้ลี้ภัยอุยกูร์กลับประเทศจีนในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศของชาติในเอเชีย โดยเฉพาะประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ดูเหมือนไม่แข็งขัน เมื่อเทียบกับปฏิกิริยาจากชาติตะวันตก แต่หลายสิ่งสะท้อนเช่นนั้นจริงหรือไม่ ติดตามในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Tuesday Apr 01, 2025
ฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาทางการเมืองคืออะไร? | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Apr 01, 2025
Tuesday Apr 01, 2025
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับเก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชวนอ่านขั้วอุดมการณ์ทางการเมือง "อนุรักษนิยม เสรีนิยม สังคมนิยม" ไปจนถึง "ฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา" ทำความเข้าใจจุดยืนของพรรคการเมือง กลุ่มทางสังคมในสังคมโลกและสังคมไทย เหตุใดอนุรักษนิยม เสรีนิยม มองเรื่องเดียวกันแต่มีจุดยืนแตกต่างกัน และตัวเรามีจุดยืนอยู่ตรงไหนเมื่อเทียบกับอุดมการณ์ทางการเมืองขั้วต่างๆ
และเมื่อพิจารณาสังคมไทย ที่แกนกลางของสังคมไทยมีความเป็นอนุรักษนิยมสูง เมื่อมีพรรคการเมือง หรือการรณรงค์ทางสังคมที่ดีกรีเป็นแค่เสรีนิยม หรือลิเบอรัล ก็ถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้ายไปหมด และชวนจับสัญญาณการใช้อำนาจองคาพยพหรือพลังทางการเมือง กระทั่งการรัฐประหาร เพื่อขยับให้สังคมที่ออกไปทางเสรีนิยมกลับมาเข้าร่องเข้ารอยอยู่ในแกนอนุรักษนิยมร่ำไป

Tuesday Apr 01, 2025
ทุนจีนเทาใกล้ฉัน | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Apr 01, 2025
Tuesday Apr 01, 2025
ติดตามประเด็นสังคมวิทยาทุนจีนข้ามชาติที่ลงทุนประกอบธุรกิจในไทยหลากหลายเฉด จากทุนจีนขาวถึงทุนจีนเทา ในหมายเหตุประเพทไทย [Live] "ทุนจีนเทาใกล้ฉัน"

Sunday Mar 09, 2025
รีวิวหนัง The Lost Princess | หมายเหตุประเพทไทย
Sunday Mar 09, 2025
Sunday Mar 09, 2025
หมายเหตุ: เนื้อหารายการเปิดเผยส่วนหนึ่งของสารคดี The Lost Princess (2024)
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และประภาภูมิ เอี่ยมสม รีวิวหลังชมสารคดี The Lost Princess (2024) ผลงานกำกับของ กรภัทร ภวัครานนท์ หลานสาวของ "เจ้ายาย" ผู้บันทึกช่วงชีวิตบั้นปลายของเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ในบริบทที่เจ้านายฝ่ายเหนือยังคงมีบทบาทในเชิงสังคมและวัฒนธรรม ขณะที่หมดอำนาจทางการเมืองไปแล้วนับตั้งแต่ยุคสยามผนวกล้านนา
อย่างไรก็ตามมีหลายแง่มุมที่น่าสนใจและแสดงสัญญะผ่านสารคดี "The Lost Princess" ทั้งยังชวนให้ตั้งคำถามถึงความเป็นเจ้า ผู้เป็นทั้งเจ้าในบ้านและเจ้านอกบ้านของเจ้าดวงเดือน วิถีเซเลบ และความเป็นมนุษย์ ภาพยนตร์สารคดีที่ยืนโรงฉายมาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม และจนถึงขณะนี้ (9 มี.ค. 68) ยังคงมีรอบฉายตามโรงฉายเล็กๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง "The Lost Princess" มีหลายแง่มุมรอคอยการรับชม และตีความอย่างไร ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Friday Mar 07, 2025
มานุษยวิทยามหาสมุทร: เพราะโลกไม่ได้หมุนรอบตัวใคร | Bookbar Ep.9
Friday Mar 07, 2025
Friday Mar 07, 2025
"เรามักจะนึกว่ามนุษย์เราเป็นใหญ่ มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เรามีความฮึกเหิม มีความทะนงตัวที่จะควบคุมจัดการทุกอย่างของโลกใบนี้ แต่ว่าการมองแบบมนุษยวิทยาพ้นมนุษย์เริ่มทำให้เราเข้าใจมากขึ้นว่า จริงๆ แล้วเราไม่สามารถที่จะจัดการควบคุมโลกใบนี้ ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ ทำให้เราถ่อมตัวลงมามากขึ้น"
'มานุษยวิทยามหาสมุทร' ฟังดูเป็นสาขาที่ชวนสงสัยว่าคืออะไร ศึกษาอะไร
BookBar สนทนากับจักรกริช สังขมณี จากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนให้เราตระหนักว่าการแตกดับของสิ่งหนึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต มนุษย์นั้นเปราะบางและหยิ่งยโสเพียงใด และเล็กจ้อยแค่ไหนเมื่ออยู่ต่อหน้ามหาสมุทร
ฟังทั้งหมดได้ทุกช่องทางของ 'ประชาไท prachatai.com'
YouTube : https://youtu.be/af6uTpUpfco
Spotify : https://pct.fyi/podcast-spotify
Apple Podcasts : https://pct.fyi/podcast-apple
Podbean : https://pct.fyi/podbeen
#BookbarPodcast #PrachataiPodcast #BookBar #Prachatai #มานุษยวิทยามหาสมุทร #จักรกริชสังขมณี #หนังสือ #book

Monday Mar 03, 2025
อำลาเชฟหมีอาจารย์ตุล | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Mar 03, 2025
Monday Mar 03, 2025
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ขอร่วมส่งอำลาและรำลึกถึงการจากไปของอาจารย์ตุล คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือที่โลกโซเชียลรู้จักในนาม "เชฟหมี" ยูทูปเบอร์รุ่นบุกเบิกแห่งรายการ "ครัวกากๆ" ทั้งนี้บทบาทของคมกฤชในโลกศาสนาและวิชาการ เป็นผู้สนใจและเผยแพร่ความรู้ในประเด็นศาสนาฮินดู พุทธศาสนาวัชรยาน เทพเจ้าจีน รวมทั้งส่งเสริมให้ความเชื่อทางศาสนาปรับตัวให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยและหลักการสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้อาจารย์ตุลย์ยังเป็นสายธารระลอกล่าสุดของผู้เผยแพร่ ส่งต่อ องค์ความรู้ "ภารตวิทยา" เชื่อมต่อความสัมพันธ์ไทย-อินเดียมาอย่างไม่ขาดสาย
ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยทุกคืนวันอาทิตย์
ผ่าแผนทรัมป์ ผนวกกรีนแลนด์ บีบแคนาดา | หมายเหตุประเพทไทย EP.563 [Live]
หัวใจและทิศทางการศึกษาศิลปศาสตร์ | หมายเหตุประเพทไทย EP.562
กฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้แล้ว ต้องทำอะไรต่อ? | หมายเหตุประเพทไทย EP.561
ดรามาไทย-พม่าหาใช่กำเนิดมาแต่กรุงศรี | หมายเหตุประเพทไทย EP.560