Episodes

Monday Mar 04, 2024
สำรวจคนเหยียด LGBT+ ในไทยเป็นคนแบบไหน | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Mar 04, 2024
Monday Mar 04, 2024
เรามักได้ยินคำพูดว่า “ไทยเป็นสวรรค์ของ LGBT” แล้วก็จะมีคนกันว่าจริงหรือไม่จริงยังไง แล้วก็จะมีการเทียบกันว่า การเหยียด LGBT+ ในไทยน้อยกว่าในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศมุสลิม หรือคริสต์แแนวอนุรักษ์นิยม แต่ก็มีงานหลายชิ้นที่สนับสนุนข้อโต้แย้งนี้ ที่ว่าจะสรุปว่าเพราะคนไทยเป็นชาวพุทธ การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มหลากหลายทางเพศในไทยน้อยกว่าก็สรุปง่ายเกินไป หมายเหตุประเพทไทยเทปนี้มาสำรวจว่า คนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ LGBT+ ในไทยเขาเป็นใครบ้าง
โดยแนะนำบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารวิชาการ Journal of Homosexuality เมื่อปี 2023 “Measuring LGBT Discrimination in a Buddhist Country” ของกฤชกนก ศรีเมือง และพิริยะ ผลพิรุฬห์ ที่นำข้อมูลการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2018 มาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างกว่า 27,855 คนต่อผู้หญิงข้ามเพศ ผู้ชายข้ามเพศ เกย์ และเลสเบี้ยน

Monday Feb 26, 2024
ประกวดนางงามญี่ปุ่น | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Feb 26, 2024
Monday Feb 26, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ พูดถึงผู้ชนะการประกวดมิสเจแปน คือ Karolina Shiino ซึ่งเป็นชาวยูเครน ที่เป็นพลเมืองแปลงสัญชาติเป็นญี่ปุ่น แม้ว่าจะอยู่ญี่ปุ่นมาตั้งแต่อายุ 5 ขวบ แต่ชัยชนะของเธอสร้างข้อโต้แย้งบนสื่อโซเชียลมากมายว่าเธอไม่เหมาะสม โดยหมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ จะชวนสำรวจประเด็นพหุวัฒนธรรม ความหลากหลายทางเชื้อชาติ กับการประกวดนางงามญี่ปุ่น

Monday Feb 19, 2024
เสรีภาพในการพูดแบบเบ็ดเสร็จ คุกคามสิทธิมนุษยชนอย่างไร? | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Feb 19, 2024
Monday Feb 19, 2024
ท่ามกลางการดำเนินคดีและข้อถกเถียงเรื่องเสรีภาพในการพูด เสรีภาพการแสดงออก หมายเหตุประเพทไทย สัปดาห์นี้พูดถึงประเด็นเสรีภาพในการพูดแบบเบ็ดเสร็จ (Free Speech Absolutism) ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงในโลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักจากที่อีลอน มัสก์ ซื้อกิจการทวิตเตอร์ ทั้งนี้ Free Speech Absolutism มีข้อสนับสนุนและข้อท้วงติงอย่างไร รวมไปถึงผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ใน #หมายเหตประเพทไทย [Live] วันอาทิตย์นี้เวลา 18.00 น.

Monday Feb 12, 2024
Monday Feb 12, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ แนะนำบทความ "The Use of the Death Penalty for Drug Trafficking in the United States, Singapore, Malaysia, Indonesia and Thailand: A Comparative Legal Analysis" ของ พ.ต.ท.ยิ่งยศ ลีชัยอนันต์ อดีตอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจและ Dennis R. Longmire (อ่านบทความ) เปรียบเทียบการปราบปรามยาเสพติด กรณีของไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย รวมไปถึงสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามการใช้โทษประหารชีวิต มีประเด็นเรื่องความไม่ได้สัดส่วนในการลงโทษ ขณะเดียวกันในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมยาเสพติดก็ไม่เคยสนับสนุนให้ใช้โทษประหารชีวิต ในช่วงท้ายของรายการจะยกตัวอย่างบทลงโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด อัพเดทนโยบายและท่าทีของรัฐไทยในการปราบปรามยาเสพติดอีกด้วย

Friday Feb 09, 2024
เยาวชนกับคดีอาชญากรรม | หมายเหตุประเพทไทย
Friday Feb 09, 2024
Friday Feb 09, 2024
จากคดีอาชญากรรมสะเทือนขวัญโดยเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นในช่วงปีให้หลัง นำมาสู่กระแสถกเถียงในวงสังคมเกี่ยวกับการปรับแก้และบังคับใช้กฎหมายเยาวชน จนเลยไปถึงการติดแฮชแท็ก #ยกเลิกกฎหมายเยาวชน ทว่าข้อเรียกร้องดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาอาชญากรเด็กได้จริงหรือไม่ อะไรคือปัจจัยในการที่เด็กก่ออาชญากรรม และทำไมการมีอยู่กฎหมายเยาวชนจึงสำคัญตามหลักการสิทธิมนุษยชน ติดตามได้ใน "เยาวชนกับคดีอาชญากรรม | หมายเหตุประเพทไทย EP.508" วันอาทิตย์ 4 ก.พ. 67 เวลา 18.00 น.
#หมายเหตุประเพทไทย #อาชญากรรมเด็ก

Monday Jan 29, 2024
Analog SQUAD ทีมรักนักหลอก | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jan 29, 2024
Monday Jan 29, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ ชวนดูซีรีส์ Analog SQUAD ทีมรักนักหลอก (2024) เผยแพร่ทาง Netflix เมื่องานอุปโลกน์ครอบครัวสมมติเพื่อตบตาพ่อแม่ในวัยบั้นปลายกลายเป็นงานงอก นอกจากซีรีส์จะชวนสำรวจภาพอุดมคติ/มายาคติของความเป็นครอบครัวแล้ว ยังชวนคิดเรื่องความไม่สมบูรณ์แบบของโลกอะนาล็อกในทศวรรษ 1990 อีกด้วย ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #AnalogSQUAD

Monday Jan 29, 2024
ว่าด้วยเอกสารปรีดี | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jan 29, 2024
Monday Jan 29, 2024
หมายเหตุประเพทไทย [LIVE] สัปดาห์นี้ พูดถึงสถานะของเอกสารชุด “ปรีดี พนมยงค์” ที่หอคลังจดหมายเหตุกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส จากเอกสารในหอจดหมายเหตุ ได้ถูกให้ความหมายใหม่กลายเป็นตำนาน จดหมายลับ บันทึกลับ และมีมสูตรอาหารได้อย่างไร?

Thursday Jan 18, 2024
ตำแหน่งแห่งที่ขององคมนตรีในรัฐธรรมนูญไทย | หมายเหตุประเพทไทย
Thursday Jan 18, 2024
Thursday Jan 18, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ แนะนำบทความ “ปัญหาการดำรงอยู่ขององคมนตรีในรัฐธรรมนูญไทย : ข้อพิจารณาเรื่องที่มาและอำนาจหน้าที่ที่ไม่ใช่การถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์” ของจิรากิตติ์ แสงลี เผยแพร่ใน วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 51 ฉบับที่ 1 (2565) (อ่านบทความ) ทั้งนี้องคมนตรีซึ่งมีที่มาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และถูกยกเลิกไปหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้งภายหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2490 มีความลงหลักปักฐานและต่อเนื่องมาถึงรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
โดยรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับบัญญัติรับรองการมีองคมนตรีไว้ ให้มีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษา และมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ การกำหนดให้องคมนตรีมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ หน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลฯ พ.ศ. 2467, ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฯลฯ มีประเด็นในระบบกฎหมายและความสอดคล้องต่อระบอบประชาธิปไตย

Monday Jan 08, 2024
นรลักษณ์โยนี | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jan 08, 2024
Monday Jan 08, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และภาวิน มาลัยวงศ์ แนะนำบทความ “อิตถีลักษณ์คติ” ในเอกสารโบราณล้านนา: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิง-ชาย (2564) โดย พวงผกา ธรรมธิ สำนักวิชาศิลปศาสตร์; หน่วยวิจัยศิลปวัฒนธรรมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วยนรลักษณ์อวัยวะเพศหญิงในเอกสารโบราณของล้านนาโดยผู้วิจัยศึกษาจากพับสาและใบลานกว่า 30 ฉบับ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างเพศชายแลเพศหญิง โดยพบคติความเชื่อ 4 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ที่สะท้อนพฤติกรรมทางเพศ และความเชื่อเกี่ยวกับความงาม ฯลฯ

Monday Jan 01, 2024
พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jan 01, 2024
Monday Jan 01, 2024
หมายเหตุประเพทไทยเทปส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ชานันท์ ยอดหงษ์ และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง แนะนำหนังสือ "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่ (Royal Attire and Thailand's Foreign Affairs)" ผลงานของศิบดี นพประเสริฐ (คลิกเพื่ออ่าน) เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ได้มีแค่การแข่งขันด้วยแสนยานุภาพหรือการค้า แต่มีปัจจัยอื่นๆ รวมไปถึงการแต่งกาย เสื้อผ้า หน้าผม อีกด้วย
โดยในบทนำของหนังสือ ท่านผู้เขียนระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "การแต่งกายและพัสตราภรณ์นั้นมิใช่มีแต่เพียงมิติด้านความสวยงามเท่านั้น หากแต่ยังมีส่วนส่งเสริมต่อกิจการด้านการต่างประเทศด้วย นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ที่สยามเริ่มก้าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีอังกฤษเป็นศูนย์กลาง พร้อมกันกับการเข้ามาของลัทธิจักรวรรดินิยมทั้งจากอังกฤษและฝรั่งเศส สยามต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสการเมืองโลกในขณะนั้นพร้อมกับการเปิดรับวัฒนธรรมตะวันตกรวมไปถึงวัฒนธรรมด้านการแต่งกาย โดยที่ชนชั้นนำเป็นผู้เปิดรับและปรับตัวก่อนชนกลุ่มอื่นในสังคม การปรับตัวด้านการแต่งกายนี้มีนัยด้านการต่างประเทศด้วยในแง่ของความ “ศิวิไลซ์” ของชาวสยาม อันมีส่วนส่งเสริมการดำเนินวิเทโศบายของสยามและการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยภายใต้บริบทการต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปในเวลาต่อมา"
ทั้งนี้พัสตราภรณ์เกี่ยวข้องกับการรับรู้ภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทยในการทูตสมัยใหม่และระเบียบระหว่างประเทศอย่างไร ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย