Episodes

Monday Jan 01, 2024
ดอยบอย ไร้อำนาจ ข้ามชาติ ข้ามเพศ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Jan 01, 2024
Monday Jan 01, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และภาวิน มาลัยวงศ์ พูดถึงภาพยนตร์ DOI BOY (2023) ผลงานกำกับล่าสุดของ นนทวัฒน์ นำเบญจพล โดยชวนมองภาพยนตร์ในมุมมองแบบเควียร์ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องข้ามเพศ แต่ยังข้ามพรมแดน พูดถึงประเด็นชายขอบ แรงงานข้ามชาติ ไฟป่า การบังคับสูญหาย ฯลฯ #DoiBoy #หมายเหตุประเพทไทย

Wednesday Dec 20, 2023
สังคมวิทยาคนแกล้งเพื่อน | หมายเหตุประเพทไทย
Wednesday Dec 20, 2023
Wednesday Dec 20, 2023
หลังกรณีศิลปินชายรายหนึ่งโพสต์ขอโทษที่แกล้งเพื่อนสมัยเรียน หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง พูดถึงงานศึกษาทางสังคมวิทยา Just a Joke? The Thin Line between Teasing, Harassment and Violence among Teenage Boys in Lower Secondary School (2020) ที่สำรวจวัฒนธรรมการแกล้งเพื่อนของเด็กมัธยมในโรงเรียนแห่งหนึ่งของสวีเดน เส้นแบ่งระหว่างการเย้าแหย่และการข่มเหงรังแกเป็นไปอย่างไร ปฏิกิริยาจากครูในโรงเรียนเมื่อทราบว่ามีการแกล้ง และชวนคิดว่าจะทำอย่างไรหากวัฒนธรรมการแกล้งถูกนิยามความหมายแตกต่างออกไปในแต่ละคน ในแต่ละสังคม การแกล้งไม่ใช่เรื่องสนุกสำหรับทุกคน หากการแกล้งกลายเป็นการคุกคาม ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการ #หมายเหตุประเพทไทย #jokingcultures

Monday Dec 11, 2023
ซามฉุ่ย เรื่องเล่าแรงงานหญิงสร้างชาติสิงคโปร์ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Dec 11, 2023
Monday Dec 11, 2023
หมายเหตุประเพทไทยตอนที่ 500 ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี ชวนติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง พูดถึงหนังสือ Remembering the Samsui Women แกะรอยวิธีวิทยาในการศึกษาการประกอบสร้างหญิงซามฉุ่ย จากหญิงรับจ้างในช่วงสิงคโปร์เป็นอาณานิคมให้กลายเป็นเรื่องเล่าแรงงานหญิงสร้างชาติของประเทศสิงคโปร์ #เที่ยวสิงคโปร์ #หมายเหตุประเพทไทย

Monday Dec 04, 2023
Eco-anxiety นำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างไร | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Dec 04, 2023
Monday Dec 04, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดถึง Eco-anxiety หรือความกังวลต่อระบบนิเวศ ซึ่งเป็นภาวะทางอารมณ์ซึ่งไม่เพียงส่งผลกับความเจ็บไข้ได้ป่วยทางร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจอีกด้วย ในหลายกรณีภาวะความกังวลต่อระบบนิเวศ เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ที่เกิดและเติบโตขึ้นในช่วงที่เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนที่ดำเนินมาเป็นระยะเวลายาวนาน และส่งผลกระทบหลายด้านในทุกปี ตั้งแต่ฤดูกาลแปรปรวน ภัยแล้ง ไฟป่า PM2.5 โรคระบาด ฯลฯ และไม่เพียงเท่านั้นทุกย่างก้าวการใช้ชีวิต ก็ยังถูกสังคมกล่อมเกลาให้ใช้ชีวิตแบบระวังโลกร้อน ตั้งแต่การใช้ถุงผ้า รักเต่าทะเล ไม่นั่งรถโดยสารควันดำ คาร์บอนฟุตปริ้นท์ กินหมูปิ้งก็รู้สึกผิด ฯลฯ ความวิตกกังวลเหล่านี้ล้วนนำไปสู่ภาวะ Eco-anxiety
ทั้งนี้ Eco-anxiety เป็นสภาวะทางอารมณ์ แม้ไม่ใช่โรคทางการแพทย์ แต่ก็เป็นเงื่อนไขไปสู่โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตได้ หากไม่ได้รับการบรรเทาแก้ไข แต่ในเมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้รับการแก้ไข วิกฤตโลกร้อนก็ยังอยู่ เราจะอยู่ร่วมกับภาวะ Eco-anxiety อย่างไร ไม่ให้ร่างพังจิตพังไปเสียก่อน โดยทิ้งท้ายมีตัวอย่างจาก Climate Psychiatry Alliance ที่แนะนำว่าบำบัดกลุ่มดีกว่าคิดไปเองคนเดียว การมีกิจกรรมรักษ์โลกร่วมกัน หรือร่วมกันทำอะไรสักอย่างเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ยังช่วยลดความวิตกกังวลจากสภาวะสิ่งแวดล้อมด้วย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในหมายเหตุประเพทไทย

Monday Dec 04, 2023
พลวัตความแมสภาพยนตร์อีสาน | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Dec 04, 2023
Monday Dec 04, 2023
ภายหลังภาพยนตร์ "สัปเหร่อ" (2566) ผลงานกำกับของ ‘ต้องเต’ ธิติ ศรีนวล ประสบความสำเร็จล้นหลาม หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์และภาวิน มาลัยวงศ์ แนะนำบทความ "อีสานแมส/อีสานใหม่: กระแสนิยมของภาพยนตร์อีสาน และการประกอบสร้างความเป็นอีสานตั้งแต่ทศวรรษ 2550" ของไซนิล สมบูรณ์ และมาโนช ชุ่มเมืองปัก (อ่านบทความ) ซึ่งพาย้อนกลับไปในช่วงต้นทศวรรษที่ 2550 เพื่อสำรวจว่ามีปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจใดบ้าง อันเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสภาพยนตร์อีสานระลอกล่าสุด พร้อมคำถามทิ้งท้ายว่าจากยุค “15 ค่ำเดือน 11” (2545) มาจนถึงจักรวาลไทบ้าน “สัปเหร่อ” (2566) ภาพแทนการนำเสนอคนอีสานในภาพยนตร์มีความเหมือนหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Monday Nov 20, 2023
สิงคโปร์ศึกษา 101 | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Nov 20, 2023
Monday Nov 20, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง พูดถึงวิชา “สิงคโปร์ศึกษา” หรือ Singapore Studies ซึ่งเป็นการใช้กรอบทฤษฎีสังคมวิทยาเพื่อศึกษาสังคมสิงคโปร์ ที่มีความจำเป็นต้องศึกษาบทบาทของตัวแสดงที่สำคัญอย่างรัฐและสังคมด้วย เพราะสิงคโปร์ในยุคสร้างชาตินั้น ด้านหนึ่งมีความพยายามที่จะพึ่งตัวเองและก้าวไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนทางสังคม ผู้นำรัฐบาลก็พยายามล้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในสิงคโปร์ที่มีพื้นเพจากหลากหลายเชื้อชาติ และสร้างชุดสำนึกความเป็นชาติขึ้นมา
นอกจากนี้รัฐยังมีบทบาทแสวงหาทางสายกลางไม่ให้สิงคโปร์ซึ่งประชากรกลุ่มใหญ่มีเชื้อสายจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์มากเกินไป และไม่ส่งเสริมปัจเจกนิยมจนเกินไปเพราะจะกลายเป็นการนิยมตะวันตก ประชาชนปีกกล้าขาแข็งหันมาวิจารณ์รัฐบาล บทบาทของตัวแสดงสำคัญทั้งรัฐและสังคมเข้ามาเกี่ยวพันกับคนสิงคโปร์ในระดับชีวิตประจำวันอย่างไร ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Monday Nov 13, 2023
เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Nov 13, 2023
Monday Nov 13, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และติณณภพจ์ สินสมบูรณ์ทอง พูดถึงแนวคิด “เทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย” (Liberation theology) ที่นำเสนอว่าแนวคิดทางศาสนาก็สามารถต่อสู้กับการกดขี่ และสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้เช่นกัน โดยแนวคิดเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อยมีจุดเริ่มต้นในละตินอเมริกาช่วงทศวรรษ 1960-1970 ซึ่งมีบริบทในเรื่องความยากจน การปฏิวัติ ศาสนจักรโรมันคาทอลิกที่มีการประชุมสภาวาตินกัน และมีการผลักดันการปฏิรูป และเปิดกว้างต่อแนวทางใหม่ๆ

Monday Nov 06, 2023
Sex Education Season 4 ย้ายเพศย้ายที่ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Nov 06, 2023
Monday Nov 06, 2023
เคท ครั้งพิบูลย์ ชวนดูซีรีส์ Sex Education ซีซั่น 4 ไม่เพียงแค่พูดถึงเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมาและเห็นมิติเรื่องเพศหลากหลายรูปแบบ แต่ยังพูดถึงเพศวิถีที่เปลี่ยนไปเมื่อตัวละครหลักเติบโตขึ้น เปลี่ยนสถานที่ ย้ายประเทศ ย้ายโรงเรียน ฯลฯ และนอกจากนี้เรื่องเพื่อนรับฟังปัญหาของเพื่อน ยังกลับมาสะท้อนประเด็นเพศศึกษาในโรงเรียนว่า เยาวชนยังคงต้องการพื้นที่ปลอดภัย เพื่อบอกเล่าถึงปัญหาเรื่องเพศของตน และเรื่องเพศวิถีที่ต้องคิดอย่างรอบด้าน นับรวมคนทุกกลุ่มและไม่ทอดทิ้งใคร ติดตามได้ใน #หมายเหตุประเพทไทย #SexEducation4

Tuesday Oct 31, 2023
สัทพจน์ เสียงเลียนธรรมชาติ ครืนนน ผ่างงง ตู้มมม | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Oct 31, 2023
Tuesday Oct 31, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และภาวิน มาลัยวงศ์ พูดถึง “Onomatopoeia” หรือสัทพจน์ หรือคำประเภทที่ใช้เลียนเสียงในธรรมชาติ เช่น เสียงตู้ม เสียงคำราม ฯลฯ โดยคำสัทพจน์เหล่านี้แพร่หลายมากขึ้นไปพร้อมกับการขยายตัวของนิยายภาพหรือการ์ตูน และยิ่งมีความสลับซับซ้อนเมื่อคำเลียนเสียงธรรมชาติเหล่านั้นถูกแปลจากภาษาต้นฉบับ ไปอีกหลายๆ ภาษา นอกจากนี้คำสัทพจน์ยังทำหน้าที่อธิบายสิ่งที่อยู่ภายในใจเรา ที่ไม่สามารถถ่ายทอดด้วยคำศัพท์ที่อยู่ในระบบภาษาทางการได้อีกด้วย ฯลฯ #หมายเหตุประเพทไทย #Onomatopoeia

Tuesday Oct 24, 2023
Mask Girl สองมุมมองและเพื่อนหญิงพลังหญิง | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Oct 24, 2023
Tuesday Oct 24, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี และภาวิน มาลัยวงศ์พูดถึงซีรีส์ Mask Girl (2023) ในแง่มุมการกีดกันผู้หญิงผ่าน Beauty standard หรือมาตรฐานความงาม ที่คนเหยียดไม่ได้มาจากผู้ชายเท่านั้น แต่อาจเกิดจากผู้หญิงที่เหยียดกันเอง ในอีกด้านหนึ่งผู้ที่เผชิญประสบการณ์เลวร้ายคล้ายกัน ก็ยังคงเป็นกลุ่มที่ซัพพอร์ตซึ่งกันและกันแบบเพื่อนหญิงพลังหญิง แต่ขณะเดียวกัน เรื่องราวเดียวกันแท้ๆ แต่ที่จริงอาจมองได้หลายมุมก็เป็นได้ ซึ่งนี่เป็นกลวิธีเล่าเรื่องของผู้กำกับ Kim Young-hoon ใน Mask Girl (2023)