Episodes

Tuesday Aug 29, 2023
แนวคิดต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Aug 29, 2023
Tuesday Aug 29, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ทำความเข้าใจแนวคิดต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพ ที่เกรงว่าแนวคิดเรื่อง gender หรือเพศสภาพ ที่ให้ความสำคัญเรื่องเพศเชิงสังคมและวัฒนธรรม แทนแนวคิดเรื่องเพศกำเนิด จะสั่นคลอนเสาหลักที่กลุ่มต่อต้านอุดมการณ์เพศสภาพยึดถือได้แก่ ครอบครัว แนวคิดชายเป็นใหญ่ คำสอนเรื่องพระเจ้าและศาสนา รวมทั้งแนวคิดเพศตามธรรมชาติ ในขณะที่ข้อเสนอจากนักคิดสตรีนิยมชี้ว่าเป้าหมายของแนวคิดเพศสภาพ กลับเป็นความพยายามเปิดโอกาสและขยายเสรีภาพในการเลือกใช้ชีวิตของผู้คน ให้ได้ใช้ชีวิตอย่างที่เขาเป็น โดยไม่ต้องหวาดกลัวที่จะถูกเลือกปฏิบัติหรือถูกกดทับ

Tuesday Aug 29, 2023
ให้มันจบที่ ”รุ่นเรา” | WanderingBook x Prachatai
Tuesday Aug 29, 2023
Tuesday Aug 29, 2023
“ให้มันจบที่รุ่นเรา” วลีสั้นๆ ที่ถ่ายทอดความรู้สึกของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในช่วงปี 2563 ซึ่ง ประชาจะมาชวนคุยกับหนึ่งในคณะผู้เขียนหนังสือ คุณ อนุสรณ์ อุณโณ เกี่ยวกับความหมายของวลีดัง ว่าอะไรจบ อะไรคือรุ่นเรา รุ่นเราหมายถึงใคร
หนังสือดีอีกเล่มที่จะชวนผู้อ่านได้คิดและทบทวนถึงนักเรียน นิสิต นักศึกษาในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันไปตามบริบทประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ความคิด-ความเชื่อ และสังคมในแต่ละแห่ง เพื่อแสดงออกถึงการสิ้นสุดความอดทนต่อระบบระบอบที่ไม่เป็นธรรมและกดขี่มาเนิ่นนานซึ่งควรจบลงได้แล้ว นับตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 เกือบครึ่งศตวรรษที่บทบาทของนักเรียน นิสิต นักศึกษาหายไปจากการเมืองไทย แล้วพวกเขาก็กลับมาใหม่พร้อมเป้าหมายใหญ่โตว่า มันต้องจบ

Thursday Aug 24, 2023
Rama X: The Thai Monarchy under King Vajiralongkorn | WanderingBook x Prachatai
Thursday Aug 24, 2023
Thursday Aug 24, 2023
ชวนคุยงานล่าสุดโดยที่ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เป็นบรรณาธิการ Rama X เป็นหนังสือที่พูดถึงความต่อเนื่องและความเปลี่ยนแปลงของสถาบันกษัตริย์จากรัชกาลที่ 9 สู่รัชกาลที่ 10 และพื้นที่ประชาธิปไตยซึ่งค่อยๆ หดแคบลง ซึ่งแน่นอนว่า ยังไม่มีใครได้เคยเห็นเนื้อหาหนังสือเล่มนี้ ก็ถูกรัฐไทยแบนไปเสียก่อนแล้ว ซ้ำในราชกิจจานุเบกษายังใช้ถ้อยคำเดียวกับมาตรา 112

Monday Aug 21, 2023
ยุครู้แจ้งและประวัติศาสตร์นิพนธ์ | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Aug 21, 2023
Monday Aug 21, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้อธิบายประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับ Age of Enlightenment หรือ “ยุครู้แจ้ง” ยุคที่เปลี่ยนโฉมโลกสมัยใหม่ โดยการรับรู้แบบกระแสหลัก ยุครู้แจ้งมีความหมายเชิงบวกและมีวิวัฒนาการไปในทางที่ดี แต่อย่างไรก็ตามยุครู้แจ้งในประวัติศาสตร์นิพนธ์กระแสรอง นำเสนอว่ายุครู้แจ้งมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งยังเกิดขึ้นในวงจำกัดคือในบางประเทศของยุโรปไม่ใช่เกิดขึ้นทั้งภาคพื้นทวีปยุโรป ยุครู้แจ้งไม่ได้เกิดเพราะนักคิดบางคนหรือตำราบางเล่ม แต่นักคิดและตำราเหล่านี้เป็นผลมาจากสังคมที่เปลี่ยนไปแล้วต่างหาก นอกจากนี้ยุครู้แจ้งยังมีด้านมืดและมรดกบาปในตัวเองอย่างเช่น การล่าอาณานิคม และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น

Friday Aug 18, 2023
ประวัติย่อของมินต์ช็อก | หมายเหตุประเพทไทย
Friday Aug 18, 2023
Friday Aug 18, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ทำความรู้จักประวัติย่อของเครื่องดื่มมินต์ช็อก ก่อนที่จะกลายเป็นเครื่องดื่มช็อตฟีลการเมืองไทย เริ่มจากจุดกำเนิดการบริโภคโกโก้/ช็อกโกแลตที่ชาวตะวันตกรับมาจากชนพื้นเมืองละตินอเมริกาในยุคล่าอาณานิคมช่วงศตวรรษที่ 15-16 และต่อมามีการนำโกโก้และมินต์มาเป็นส่วนผสมในขนมและเครื่องดื่มทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรปในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้มินต์ช็อกยังกลายเป็นอาวุธสู้กลับทางวัฒนธรรมเมื่อเกาหลีใต้นำเสนอ Minchodan หรือกองทัพมินต์ช็อก ที่ขยายสเกลนำมินต์ช็อกผสมลงไปในทุกอย่างของเครื่องดื่มและอาหาร ไม่เว้นกระทั่งเคเอฟซีและเผยแพร่กลับไปยังตะวันตก

Thursday Aug 10, 2023
Past Lives หนังสะเทือนตับ | หมายเหตุประเพทไทย
Thursday Aug 10, 2023
Thursday Aug 10, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดถึงภาพยนตร์ Past Lives (2023) พิจารณาบทที่ตัวละครอย่างนอราต้องเลือก ระหว่างเจตจำนงเสรีกับสิ่งที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างอินยอน พร้อมชวนมองภาพยนตร์ในมุมมองการศึกษาชุมชนพลัดถิ่นหรือ Diaspora ว่านอกจากการต่อรองเพื่อเป็นคนใน และระหว่างการโหยหาอดีตแล้ว ยังมีรอยต่อที่ไม่แนบสนิทระหว่างสังคมใหม่กับบ้านเก่าเกิดขึ้นหรือไม่?

Tuesday Aug 01, 2023
เครื่องแบบ วินัย และการปกครองชีวญาณ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Aug 01, 2023
Tuesday Aug 01, 2023
ในช่วงที่สังคมไทยถกเถียงกันเรื่องไม่บังคับสวมเครื่องแบบนักเรียน หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้แนะนำบทความ ‘The prison of the body’: school uniforms between discipline and governmentality พูดถึงที่มาของเครื่องแบบนักเรียนที่เริ่มในโลกตะวันตก การใช้แนวคิด discipline (วินัย) และ governmentality (การปกครองชีวญาณ) ของมิเชล ฟูโกต์เข้ามาอธิบายเครื่องแบบนักเรียนในฐานะของการตรวจตราและการควบคุมพฤติกรรมนักเรียน ข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการก็คือในสังคมที่ไม่บังคับให้เด็กนักเรียนสวมเครื่องแบบ การใช้วินัยเพื่อควบคุมเนื้อตัวร่างกายอาจจะลดน้อยลง แต่ก็ยังมีเรื่อง governmentality ที่อยู่ในระดับจิตสำนึกควบคุมพฤติกรรมของปัจเจกเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมอยู่ดี ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Tuesday Jul 25, 2023
ผู้ลี้ภัยศึกษา คนพลัดถิ่น และการข้ามแดน | หมายเหตุประเพท
Tuesday Jul 25, 2023
Tuesday Jul 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้อธิบายนิยามของคำว่า “ผู้ลี้ภัย” “คนพลัดถิ่น” “แรงงานข้ามชาติ” ฯลฯ พร้อมแนะนำบทความ “What is refugee history, now?” (2021) เผยแพร่โดย Cambridge University Press ที่อธิบายถึงงานศึกษาด้านผู้ลี้ภัยที่เดิมเป็นเพียงแขนงย่อยของศาสตร์แขนงหลักอย่างกฎหมายระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มานุษยวิทยา ความสนใจเรื่องผู้ภัยศึกษาแต่เดิมก็สนใจว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร หรือจะช่วยเหลืออย่างไร นอกจากนี้การนิยามเรื่องผู้ลี้ภัยก็เป็นไปแบบเอายุโรปเป็นศูนย์กลางหรือ eurocentrism อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีมีแนวทางศึกษาที่ยึดตัวตนของของผู้ลี้ภัยเป็นหลัก โดยถือว่าผู้ลี้ภัยมีความคิด มีตัวตน มีความรู้สึก และเป็นตัวแสดงที่สำคัญ มีงานศึกษาผู้ลี้ภัยทั้งแบบชาติพันธุ์วรรณาและผ่านการศึกษาจดหมายเหตุของผู้ลี้ภัยมากขึ้น เป็นต้น

Tuesday Jul 25, 2023
ความลื่นล้มทางเพศ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Jul 25, 2023
Tuesday Jul 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดคุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ในประเด็น gay dominance สัมพันธ์อย่างไรกับวาระผลักดันสิทธิความหลากหลายทางเพศ อธิบายภาวะช่วงชิงการนำเสนอความหลากหลายทางเพศที่ปรากฏในสื่อบันเทิง วัฒนธรรม ไปจนถึงงานรณรงค์ พร้อมชวนคิดข้อเสนอระยะยาวต่อการผลักดันประเด็นความหลากหลายทางเพศที่นับรวมทุกคน รวมไปถึงเรื่อง Intersectionality อีกด้วย

Tuesday Jul 25, 2023
อาชญาวิทยาหลังสมัยใหม่ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Jul 25, 2023
Tuesday Jul 25, 2023
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้พูดถึงแนวคิดอาชญาวิทยาหลังสมัยใหม่ หรือ Post Modern Criminology ที่ให้ความสนใจประเด็นอัตลักษณ์ในการเป็นอาชญากร ธรรมชาติของมนุษย์จากสิ่งที่เป็น (being) ไปสู่สิ่งที่กลายเป็น (becoming) นอกจากนี้อาชญาวิทยาหลังสมัยใหม่ ยังท้าทายแนวคิดอาชญาวิทยากระแสหลัก ว่าจำเป็นด้วยหรือที่ต้องวิเคราะห์อย่างตายตัวหรือผลลัพธ์แบบเดิม? รวมทั้งเสนอการใช้ Narrative แทนที่วิธีคิดเรื่องการแสวงหาข้อเท็จจริงแบบแนวคิดอาชญาวิทยากระแสหลัก