Episodes

Monday Apr 29, 2024
โค้งสุดท้ายผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Apr 29, 2024
Monday Apr 29, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และชานันท์ ยอดหงษ์ พูดถึงร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... หรือที่เรียกว่า “ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม” ซึ่งมีผลแก้ไขเนื้อหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ในเรื่องของการจดทะเบียนสมรส ที่เดิมกำหนดให้เป็นชายและหญิง เปลี่ยนเป็นระหว่างบุคคลกับบุคคล โดยร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมดังกล่าวเพิ่งผ่านสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา และอยู่ในระหว่างการพิจารณาในชั้นของวุฒิสภา
ซึ่งหากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวผ่าน จะส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย ถัดจากไต้หวันและเนปาล ที่มีกฎหมายแต่งงานของบุคคลเพศเดียวกัน ผลของการแก้ไขกฎหมายจะส่งผลสำคัญอย่างไรทั้งในมิติด้านสังคมและครอบครัว และมีเรื่องไหนที่ยังเป็นข้อถกเถียงกัน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Sunday Apr 14, 2024
อ่านสถาปัตยกรรมอำนาจผ่านการออกแบบรัฐสภา | หมายเหตุประเพทไทย
Sunday Apr 14, 2024
Sunday Apr 14, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดคุยกับ ชานันท์ ยอดหงษ์ ตั้งประเด็นรัฐสภาไทยแห่งใหม่ "สัปปายะสภาสถาน" ที่ประชาชนผู้ไปติดต่อรัฐสภาต่างสะท้อนถึงรูปร่างหน้าตาของรัฐสภาที่ใหญ่โตโอ่อ่า แต่กลับเข้าถึงยาก
พร้อมชวนพิจารณาการออกแบบที่ประชุมรัฐสภาในที่ต่างๆ ทั่วโลก ว่ามีผลกับพฤติกรรม และการอภิปรายของสมาชิกรัฐสภา รวมทั้งรูปแบบการปกครอง และความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไร ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Tuesday Apr 09, 2024
ความรุนแรงทางการเมือง และการเมืองเรื่องความทรงจำ | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Apr 09, 2024
Tuesday Apr 09, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ประภาภูมิ เอี่ยมสม และต่อศักดิ์ จินดาสุขศรี พูดถึงการเมืองเรื่องความทรงจำ โดยภายหลังเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังเหตุนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การนำคนผิดมาลงโทษ แต่รวมถึงการค้นหาความจริง และการเยียวยาในหลายมิติ
และอีกประการหนึ่งก็จะพิจารณาด้วยว่าเหตุการณ์ที่เกิดไปแล้ว ถูกจดจำเล่าถึงอย่างไร และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตอาจจดจำ มองเห็น เหตุการณ์ดังกล่าวแตกต่างกัน การเมืองเรื่องความทรงจำจึงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การเลือกจำ การจำ การลืมก็เป็นการเมืองของความทรงจำเช่นกัน โดยกรณีของสังคมไทยที่ยกเป็นกรณีศึกษาได้ เช่น กรณีคนเสื้อแดง และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 #หมายเหตุประเพทไทย #ความทรงจำ #Politicsofmemory

Tuesday Apr 09, 2024
อนุกรรมการ soft power หนังสือและความฝันถึงสถาบันหนังสือ | BookBar Ep.2
Tuesday Apr 09, 2024
Tuesday Apr 09, 2024
Soft power คำนี้หมายถึงอะไรยังถกเถียงกันไม่จบ แต่เมื่อเพื่อไทยขึ้นเป็นรัฐบาลได้ไม่นานก็ตั้งคณะกรรมการด้านพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติซึ่งประกอบด้วยอนุกรรมการชุดต่างๆ หนึ่งในนั้นคือคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ จะมากจะน้อยบรรดาหนอนหนังสือคงคาดหวังว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในแวดวงหนังสือ
#BookBar ชวน ธีรภัทร เจริญสุข หนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ มาสนทนาถึงสิ่งที่อนุฯ จะทำในอนาคตกับความฝันถึงสถาบันหนังสือแห่งชาติที่จะเป็นกลไกทำงานต่อเนื่องที่รับงบประมาณมาสานงานเพื่อวงการหนังสือไทย
#PrachataiPodcast #BookBar #Prachatai #softpower #หนงสือ #book

Sunday Mar 31, 2024
หอยนางรมในวรรณกรรมกับจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม | หมายเหตุประเพทไทย
Sunday Mar 31, 2024
Sunday Mar 31, 2024
ประภาภูมิ เอี่ยมสม และภาวิน มาลัยวงศ์ ชวนอาจารย์มิ่ง ปัญหา จากสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองวรรณกรรมอังกฤษและจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมผ่านการบริโภคหอยนางรม ทั้งนี้ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 การเพาะเลี้ยง การบริโภคหอยนางรมของชาวตะวันตก เป็นที่นิยมของทุกชนชั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจน หากแต่การแบ่งชนชั้นอยู่ที่วิธีปรุง หรือสถานที่รับประทาน หอยขนาดเล็กหรือใหญ่ อย่างน้อยในศตวรรษที่ 19 ผู้ดีมีฐานะย่อมไม่แคะหอยนางรมกินที่แผงขายหอยริมท่าเรือ
อย่างไรก็ตามมีจุดเปลี่ยนในศตวรรษที่ 20 เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นเร่งอัตราบริโภคหอยนางรมมากขึ้นจนหอยนางรมจากฟาร์มเพาะเลี้ยงโตไม่ทัน ทำให้ปริมาณหอยนางรมลดน้อยลง และกลายเป็นของแพง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ปรากฏชัดในงานวรรณกรรม และแนวคิดต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในโลกตะวันตก ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Tuesday Mar 26, 2024
นักเขียนผีแห่งสยาม | since 2475 EP.1
Tuesday Mar 26, 2024
Tuesday Mar 26, 2024
#PrachataiPodcast คุยกับ ‘ภูมิ’ ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ เจ้าของนามปากกา ‘สะอาด’ ที่มาพร้อมกับผลงานชิ้นใหม่ นิยายกราฟิกอิงประวัติศาสตร์ “2475 นักเขียนผีแห่งสยาม” ที่จะมาเล่าให้ฟังตั้งแต่จุดเริ่มต้นของนิยายกราฟิก ที่หยิบยกเรื่องราวประวัติศาสตร์ 2475 การหายไปของบางตัวละคร มุมมองของเขาต่อคณะราษฎร และการเมืองไทยในปัจจุบัน
Prachatai Podcast ‘since 2475’ เป็นรายการที่พาย้อนไปในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เพื่อทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ ในมิติต่างๆ ความคิด ความฝัน และผลกระทบจากวันนั้นจนถึงปัจจุบัน
#PrachataiPodcast #since2475

Tuesday Mar 26, 2024
นางนาก (2542) | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Mar 26, 2024
Tuesday Mar 26, 2024
เพื่อระลึกถึงการจากไปของ “วินัย ไกรบุตร” หมายเหตุประเพทไทย [Live] เทปนี้พูดถึงภาพยนตร์นางนาก (2542) ที่แสดงนำโดย วินัย ไกรบุตร และอินทิรา เจริญปุระ กำกับโดย นนทรีย์ นิมิบุตร ทั้งนี้ภาพยนตร์นางนาก (2542) ซึ่งอิงกับเรื่องผีแม่นาคพระโขนง ผลิตและฉายในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ได้รับเสียงตอบรับทั้งในเชิงรายได้และรางวัลทั้งในและนอกประเทศ และในอีกด้านหนึ่งก็สะท้อนกระแสโหยหาอดีต และโหยหาความเป็นไทยของสังคมไทยในช่วงที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจในเวลานั้น ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย [Live]
อ่านบทความประกอบ (1) อิทธิเดช พระเพ็ชร, จาก “โหยหา” ถึง “โมโห”: อ่านอาการสังคม ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง (พ.ศ. 2540-2546), ใน วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 [อ่านบทความ]
(2) ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์, “ความสมจริงของ (หนัง) นางนาก และความผิดปกติของสังคมไทยหลังพิษเศรษฐกิจ 2540”, ใน The101.world, 27 กรกฎาคม 2564 [อ่านบทความ]

Tuesday Mar 19, 2024
คุยกับฟาโรห์ จักรภัทรานน เพราะ ‘ไม่มีใครเกิดมาเป็นปีศาจ’ - BookBar Ep.1
Tuesday Mar 19, 2024
Tuesday Mar 19, 2024
ประชาไทชวนฟังพอดแคส "BookBar" พอดแคสของคนบ้าบุ๊ค คุยหนังสือ มองสังคม ทบทวนการเมืองและวัฒนธรรมที่ถูกบอกเล่าผ่านตัวอักษร โดยในตอนที่ 1 พบกับ ฟาโรห์ จักรภัทรานน แอดมินเพจ The Common Thread และผู้เขียนหนังสือ ‘ไม่มีใครเกิดมาเป็นปีศาจ’
มนุษย์มักก่นด่าปีศาจ แต่เพิกเฉยต่อสิ่งที่สร้างปีศาจขึ้นมา มันอาจเป็นความธรรมดาสามัญเพราะปีศาจมองเห็นได้ง่ายดายกว่าปัจจัยที่ก่อกำเนิดปีศาจ BookBar สทนากับฟาโรห์ จักรภัทรานน แอดมินเพจ The Common Thread และผู้เขียนหนังสือ ‘ไม่มีใครเกิดมาเป็นปีศาจ’ บอกเล่าเรื่องราวของ 9 ฆาตกรต่อเนื่องที่เคยขวัญคนทั้งสังคม เขาไม่ต้องการเน้นวิธีการฆ่าหรือการไล่ล่าชวนตื่นเต้น แต่ชวนสำรวจชีวิตและหลุมดำที่ก่อกำเนิดปีศาจเหล่านี้ ไม่ต้องเห็นใจฆาตกร แค่อยากให้เข้าใจที่มาที่ไป มองหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปีศาจขึ้นอีก และป้องกันตัวเองจากสถานการณ์ที่น่าสงสัย
ติดตามเนื้อหาของประชาไทได้ที่
- Facebook: https://www.facebook.com/Prachatai
- Instagram: https://www.instagram.com/prachatai_ig/
- YouTube: https://www.youtube.com/@prachatai
- Twitter: https://twitter.com/prachatai
- TikTok: https://www.tiktok.com/@prachatai_tiktok
#PrachataiPodcast #BookBar #Prachatai #ไมมีใครเกิดมาเป็นปีศาจ #หนงสือ #book

Monday Mar 18, 2024
แมนสรวง | หมายเหตุประเพทไทย
Monday Mar 18, 2024
Monday Mar 18, 2024
หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ภาวิน มาลัยวงศ์ และชานันท์ ยอดหงษ์ รีวิวภาพยนตร์ “แมนสรวง” (2023) ผลงานกำกับโดย กฤษดา วิทยาขจรเดช ร่วมกับชาติชาย เกษนัส และพันพัสสา ธูปเทียน และได้ นักรบ มูลมานัส เป็นผู้จัดวางและกำกับองค์ประกอบศิลป์
ทั้งนี้ “แมนสรวง” เป็นภาพยนตร์แนวระทึกขวัญที่มีเนื้อหาทางการเมือง มีฉากหลังเป็นการเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ในห้วงที่พระนครเต็มไปด้วยผู้คนจากนานาชาติ และอิทธิพลของจีนตั่วเฮีย ซึ่งเป็นสมาคมลับของชาวจีนโพ้นทะเล โดย “แมนสรวง” แม้จะนำเสนอสังคมไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์แต่ไม่ได้เป็นภาพยนตร์แนวโหยหาอดีตแบบเรื่องอื่นๆ เทคนิคการเล่าเรื่องทำให้ผู้ชมย้อนกลับมาดูความเกี่ยวข้องเป็นไปกับสังคมไทยปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย

Tuesday Mar 12, 2024
เควียร์ศึกษาใน #สุขุมวิท 11 | หมายเหตุประเพทไทย
Tuesday Mar 12, 2024
Tuesday Mar 12, 2024
หมายเหตุประเพทไทย (Live) เทปนี้ พูดถึงเหตุการณ์ #วันกะเทยผ่านศึก ที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไม่มีที่มาที่ไป ด้านหนึ่งตอกย้ำการเมืองเรื่องวัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ก่อนหน้านี้อย่างศึกนางงาม อีกด้านในส่วนของเหตุการณ์ที่สุขุมวิท ซอย 11 จำเป็นต้องพิจารณาเหตุการณ์นี้ในฐานะ social event ที่เราต้องอ่านอารมณ์และผัสสารมณ์ของสังคมที่มีต่อ social event ด้วย
#หมายเหตุประเพทไทย #สุขุมวิท11